วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ขายยาสลบ (ยาสลบที่ใช้ได้ผลจากการทดลองแน่นอน confirm)

ประวัติของการดมยาสลบ ขายยาสลบ ยาสลบแบบพ่น รมควันยาสลบอย่างถูกวิธี
           การดมยาสลบที่กล่าวได้ว่าเป็นรากฐานของการให้ยาดมสลบในปัจจุบันนี้ เริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ เมื่อก๊าซไนทรัสออกไซด์ ถูกค้นพบโดยพริสต์เลย์ (Joseph Priestley, ค.ศ.๑๗๓๓-๑๘๐๔) ในปี พ.ศ. ๒๓๑๕ แต่ในเวลานั้นยังไม่ทราบว่าก๊าซตัวนี้มีคุณสมบัติระงับความเจ็บปวดได้ จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๓๔๓ เดวี จึงค้นพบฤทธิ์ระงับความเจ็บปวด และเรียกก๊าซนี้ว่าก๊าซหัวเราะ (laughing gas) ต่อจากนั้นมาก็มีการค้นคว้าและนำเอาอีเทอร์ คลอโรฟอร์ม และ เอทิลคลอไรด์ มาใช้เป็นยาดมสลบ ในระยะแรก ๆ ก็ใช้ในการถอนฟัน โดยให้แบบหยด (open drop)ต่อมาเมื่อ ฮอเรซ เวลส์ สร้างเครื่องดมยาด้ายก๊าซไนทรัสออกไซด์ได้ (พ.ศ. ๒๓๘๗) จึงเป็นความคิดริเริ่มของนักวิทยาศาสตร์ที่จะประดิษฐ์เครื่องดมยาขึ้นมา  ซึ่ง เซอร์ เฟรเดริก เฮวิตต์ (Sir Frederic Hewitt, ค.ศ. ๑๘๘๗) ได้ประดิษฐ์เครื่องดมยาเครื่องแรกขึ้น แต่ในเวลานั้นก็ไม่เป็นที่นิยมใช้ เพราะแพทย์ส่วนมากยังนิยมใช้แบบหยดกันอยู่          นอกจากการทำให้ผู้ป่วยหลับ และไม่รู้สึกเจ็บปวดระหว่างถอนฟัน ผ่าตัด หรือขณะคลอดบุตรแล้ว ก็ยังมีผู้พยายามคิดหาวิธีอื่นที่ผู้ป่วยไม่ต้องหลับแต่ไม่เจ็บปวดขณะทำการผ่าตัด ซึ่งคาร์ล ลุดวิก ชไลค์ (Karl Ludwig Schleich) ทำสำเร็จโดยการฉีดยาชาเฉพาะที่ในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๑  ไบเออร์ (Bier) ก็เป็นคนแรกที่ฉีดยาเข้าช่องไขสันหลังทำให้เกิดการชาครึ่งล่างของร่างกายสำเร็จ ต่อจากนั้นมาการใช้ยาชาโปรเคน (procaine) และโคเคน (cocaine) ก็ทำกันเรื่อยมา ปัจจุบันมียาชาตัวใหม่ๆ ที่มีคุณสมบัติที่ดีและเหมาะสมที่จะใช้กับผู้ป่วยหลายตัว เช่น ไลโดเคน บิวปิวาเคน คลอโรโปรเคน เททระเคนเมปิวาเคน และเอติโดเคน(lidocaine,bupivacaine, chloroprocaine,tetracaine, mepivacaine และ etidocaine) เป็นต้น          การให้ยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำนั้นเริ่มต้นจากปี พ.ศ.๒๔๔๖ โดย เอมิล ฟิสเชอร์ (Emil Fischer, ค.ศ. ๑๘๕๒ - ๑๙๑๙  ชาวเยอรมัน) ได้สังเคราะห์ยานอนหลับ บาร์บิทูเรท (barbiturate)ตัวแรกขึ้นมาคือ บาร์บิโทน หรือ เวอโรนัล (barbitone or veronal)ต่อมา เปอร์นอกตอน (Pernocton) ก็ได้แนะนำให้ใช้ยานอนหลับนี้เป็นยานำให้หลับก่อน (Induction of anesthesia) ซึ่งปัจจุบันนี้ เราก็ใช้ไทโอบาร์บิทูเรท (thiobarbiturate) ซึ่งมีการออกฤทธิ์ที่เร็วมากเป็น
ตัวยานำสลบก่อน
          จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงมีการค้นพบยาดมสลบตัวใหม่ๆ ซึ่งมีคุณสมบัติและคุณภาพดีกว่าและปลอดภัยกว่ายาตัวเก่า ยาที่กล่าวนี้ได้แก่ เมทอกไซฟลูเรน (methoxyflurane) ผลิตขึ้นโดยลาร์เซน (Larsen) ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑  ฟลูรอกเซน (fluroxene) สังเคราะห์ได้โดย แกรนทซ์ (Krantz)พ.ศ. ๒๔๙๗ ฮาโลเทน (halothane) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ถูกสังเคราะห์ขึ้นโดยซักคลิง (Suckling) ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๔๙๙  ต่อมาปี  พ.ศ. ๒๕๐๓ เทอร์เรลล์ (Terrell)ก็สังเคราะห์ เอนฟลูเรน (enflurane) ขึ้นมาเป็นที่นิยมใช้พอๆ กับฮาโลเทน และหลังสุดคือปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ยาดมสลบ ไอโซฟลูเรน (isoflurane) ก็ถูกสังเคราะห์ขึ้นมา           ในประเทศไทย การดมยาในสมัยแรกเราใช้อีเทอร์ และคลอโรฟอร์ม ต่อมาเมื่อมียาตัวใหม่ที่ออกฤทธิ์เร็วกว่า ดีกว่ามีผลแทรกซ้อนเกิดขึ้นน้อยกว่าก็ได้นำมาใช้แทน ยาเหล่านั้น มีทั้งยาให้ดมสลบ เช่น ฮาโลเทน ใช้ร่วมกับ ไนทรัสออกไซด์ ยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เช่น ไทโอเพนโทน วาเลียม มอร์ฟีน เฟนตานีล (thiopentone, valium, morphine, fentanyl) ใช้ร่วมกับยาหย่อนกล้ามเนื้อ และในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการให้ยาชาเฉพาะที่ก็ใช้ยาชาไลโดเคน และ บิวปิวาเคน ซึ่งได้ผลดี


โจเซฟ พริสต์เลย์



หัวข้อ
จุดมุ่งหมายและวิธีการใช้ยาสลบ 
จุดมุ่งหมาย          การให้ยาดมสลบ การใช้ยาชาฉีดเข้าทางช่องกระดูกสันหลัง การให้ยาชาเฉพาะที่ หรือการฝังเข็ม มีจุดมุ่งหมายเพียงอย่างเดียว คือ ทำให้ผู้ป่วยปราศจากความรู้สึกเจ็บปวดขณะได้รับการผ่าตัดทุกชนิด
วิธีการ           จำแนกออกเป็น ๔ แบบ คือ
                    
๑. ให้ยาดมสลบ (inhalation anesthesia)
                    
๒. ใช้ยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ (intravenous anesthesia)
                    
๓. ใช้ยาชา (regional analgesia)
                    
๔. วิธีฝังเข็ม (acupuncture)

[กลับหัวข้อหลัก]
การให้ยาดมสลบ 
มีอยู่ ๒ วิธี คือ
          ๑. แบบหยด จะใช้อีเทอร์ เป็นยาดมสลบ อุปกรณ์ที่ต้องมีคือ หน้ากาก (mask) ซึ่งมีผ้ากอซ (gauze) หุ้มไว้ประมาณ ๔-๕ ชั้น และขวดยาอีเทอร์ สำหรับหยดลงบนหน้ากากให้ผู้ป่วย สำหรับใช้กับเด็กซึ่งทำผ่าตัดสั้นๆ ไม่เหมาะที่จะใช้กับผู้ใหญ่ เพราะจะต้องใช้เวลานานที่จะทำให้หลับ
          ข้อเสียของวิธีนี้คือ
          
(๑) ทำให้ยาสลบกระจายฟุ้งทั่วห้อง บุคคลที่อยู่ในห้องจะต้องสูดเอายาสลบเข้าไปด้วย
          
(๒) ผู้ถูกดมยาสลบโดยวิธีนี้จะสูญเสียความร้อนออกจากร่างกายมากถึง ๓๐๐ แคลอรีต่อเวลา ๑ นาที
          
(๓) ทำให้มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในตัวผู้ป่วยได้ ดังนั้นวิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันนี้
          ๒. แบบใช้เครื่องดมยาสลบ จากเครื่องดมยาสลบ เราสามารถควบคุมจำนวนออกซิเจน ก๊าซไนทรัสออกไซด์ และไอระเหย (vapor) ของยาดมสลบตัวอื่นๆ ได้ ในระดับที่จะทำให้ผู้ป่วยหลับตามที่เราต้องการ มีท่อยางต่อออกจากเครื่องดมยาสลบนำออกซิเจนและยาดมสลบที่เป็นก๊าซหรือไอระเหยไปสู่คนไข้ลักษณะท่อยางที่ใช้แตกต่างกันในเด็กและผู้ใหญ่ คือ ในเด็กเล็กจะมีแค่ ๑ ท่อ เรียกระบบนี้ว่า นอนรีบรีทิง (non-rebreathing) ส่วนในผู้ใหญ่จะมีท่อต่อจากเครื่องดมยานำเอายาสลบและออกซิเจนไปสู่ผู้ป่วยตอนหายใจเข้า และลมหายใจออกก็จะกลับออกทางท่อหายใจออกเข้าไปสู่ภาชนะที่มีโซดาไลม์ (sodalime) สำหรับดูดเอาคาร์บอนไดออกไซด์ ออกจากลมหายใจออก อากาศดีและยาดมสลบจะกลับเข้าผู้ป่วยทางท่อหายใจเข้าอีก ก๊าซที่ผู้ป่วยหายใจเข้าและออกนี้จะไม่มาผสมกันเพราะมีลิ้นปิดเปิด (valve) ซึ่งยอมให้ก๊าซผ่านไปได้ทางเดียว (one way)

          การใช้เครื่องดมยานี้มีข้อดีคือ
          (๑) สะดวก
          (๒) สามารถควบคุมระดับการดมยาสลบให้ตื้นหรือลึกได้ตามความต้องการ โดยการเปิดก๊าซให้ออกได้ตามความเข้มข้นที่ต้องการ
          (๓) สามารถควบคุมการหายใจของผู้ป่วยระหว่างดมยาสลบไม่ให้มีคาร์บอนไดออกไซด์คั่ง และ
          (๔) อากาศเสียหรือก๊าซ ที่ออกมาทางลมหายใจออกของผู้ป่วยก็สามารถต่อท่อออกไปทิ้งข้างนอกได้ ข้อเสียของวิธีนี้ก็คือเครื่องดมยาราคาแพงมาก

[กลับหัวข้อหลัก]

อุปกรณ์สำหรับดมยาสลบแบบหยด


เครื่องมือดมยาสลบ และอุปกรณ์สำหรับดมยาในผู้ใหญ่


การให้ยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ 
          ในรายผ่าตัดสั้น ๆ เช่น ทำความสะอาดแผลที่ถูกน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ หรือตัดไหมหลังผ่าตัดในเด็กเล็ก อาจใช้ยา
           ๑. เคตามีน (Ketamine) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เพื่อทำให้ผู้ป่วยหลับชั่วคราว ถ้าใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดฤทธิ์จะอยู่นานประมาณ ๑๐ นาที แต่ถ้าฉีดเข้ากล้ามซึ่งต้องใช้ขนาดสูงกว่าที่ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ๓ - ๔ เท่า ผู้ป่วยจะหลับอยู่นานประมาณ ๒๐-๓๐ นาที สำหรับให้ทำแผลได้ 
ข้อเสียของการใช้ยานี้คือ ทำให้ความดันโลหิตขึ้นสูง หัวใจเต้นเร็วขึ้น และมีฝันร้ายซึ่งอาจติดตัวผู้ป่วยอยู่นานเป็นเดือน
          ๒. การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำมีจุดประสงค์ที่ดีอย่างหนึ่งคือใช้เป็นยานำสลบ เพื่อให้ผู้ป่วยหลับเร็ว ผ่านระยะของความตื่นเต้นไปได้เร็วมาก แล้วต่อจากนั้นก็อาจให้หลับต่อด้วยยาฉีด และหรือยาดมสลบตัวอื่น ยานำสลบที่นิยมใช้ ก็คือไทโอบาร์บิทูเรท ขนาด ๔-๕ มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว ๑ กิโลกรัม การให้ยาทางหลอดเลือดนี้ ทำได้ลำบากในเด็กเล็ก แต่ใช้ได้ผลดีในเด็กโตและผู้ใหญ่โดยไม่รู้สึกเจ็บปวด เช่น ฉีดยาชาที่กลุ่มประสาทบริเวณกึ่งกลางเหนือกระดูกไหปลาร้า หรือที่รักแร้ (brachial plexus block) จะทำให้เกิดการชาที่แขนและมือ หรือฉีดยาชาที่เส้นประสาทโคนขา(femoral) บริเวณขาหนีบ ก็จะทำให้เกิดการชาบริเวณขาที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทนี้ เป็นต้น
          
๓. ยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำที่นิยมนำมาใช้เพื่อทำให้คนไข้หลับหรือใช้ร่วมกับยาดมสลบ ก็คือยาพวก ยาง่วงซึม(narcotic) ได้แก่ มอร์ฟีน เฟนตานีล และเมเปอริดีน (meperidine)
          
๔. พวกยากล่อมอารมณ์ (tranquilizer) ได้แก่ ไดอาซีแพม (diazepam) และ โดรเปอริดอล (droperidol)
          
๕. นอกจากนี้การผ่าตัดบางชนิดจะทำได้สะดวกและง่าย ถ้าทำในขณะที่กล้ามเนื้อหย่อนตัวมากๆ ดังนั้นวิสัญญีแพทย์จำเป็นจะต้องฉีดยาหย่อนกล้ามเนื้อให้ผู้ป่วย ยาหย่อนกล้ามเนื้อที่นิยมใช้กันอยู่คือ ซัคซินีลคอลีน ดี - ทูโบคูรารีน แพนคูโรเนียม อัลโลเฟอรีน และกัลลามีน (succinylcholine, d-tubocurarine,pancuronium, alloferine และ gallamine) เป็นต้น เมื่อใดที่ต้องใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อ จะต้องใส่ท่อหายใจให้ผู้ป่วย และช่วยการหายใจ  ด้วยการบีบลูกโป่งหรือใส่เครื่องช่วยหายใจ การใส่ท่อหายใจนี้ จะใส่ไว้ในหลอดลมหลังจากผู้ป่วยหลับ  ยกเว้นบางรายที่มีปัญหาของการใส่ท่อหายใจยากหรือรายที่ต้องเสี่ยงภัยต่อการสำลักอาหารเข้าหลอดลม ก็จะต้องใส่ท่อหายใจขณะที่ผู้ป่วยยังตื่นอยู่

[กลับหัวข้อหลัก]
ใช้วิธีฉีดยาชา 
          ใช้วิธีฉีดยาชา  ด้วยวิธีนี้ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกคล้ายเป็นเหน็บชาและหมดความรู้สึกเจ็บในบริเวณที่ให้ยาชา วิธีการฉีดและชนิดของยาชา ต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสม แล้วแต่ชนิดและระยะเวลาของการผ่าตัด          ๑. การฉีดยาชาที่บริเวณหรือรอบๆ บริเวณที่ผ่าตัดโดยตรง วิธีนี้จะใช้ยาชาในขนาดความเข้มข้นต่ำ เช่น ไลโดเคน ๐.๕% หรือ บิวปิวาเคน ๐.๒๕-๐.๕% ถ้าต้องการใช้ยาชาเป็นจำนวนมาก ต้องผสมยาที่ออกฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดตีบตัวลงไปในยาชาด้วย เพื่อช่วย
                    
(๑) ลดการดูดซึมของยาชาเข้ากระแสโลหิต
                    (
๒) ลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการให้ยาชาเกินขนาดและ
                    
(๓) ทำให้ยาชาออกฤทธิ์ได้นานกว่าปกติด้วย
          ๒. การฉีดยาชาบริเวณเส้นประสาทหรือกลุ่มประสาท  วิธีนี้จะใช้ยาชาที่มีความเข้มข้นปานกลาง เช่น ไลโดเคน ๑.๕-๒% หรือบิวปิวาเคน ๐.๕-๐.๗๕% ผสมกับยาที่ทำให้หลอดเลือดตีบตัว เมื่อยาชาซึมเข้าไปสัมผัสกับเยื่อหุ้มประสาทจะออกฤทธิ์ปิดกั้นการนำความรู้สึกผ่านเส้นประสาทหรือกลุ่มประสาทนั้นๆ ทำให้เกิดการชาขึ้นเป็นบริเวณกว้างตลอดแนวที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทหรือกลุ่มประสาทนั้น สามารถทำการผ่าตัดได้โดยไม่รู้สึกเจ็บปวด เช่น ฉีดยาชาที่กลุ่มประสาทบริเวณกึ่งกลางเหนือกระดูกไหปลาร้า หรือที่รักแร้ (brachial plexus block) จะทำให้เกิดการชาที่แขนและมือ หรือฉีดยาชาที่เส้นประสาทโคนขา(femoral)บริเวณขาหนีบ ก็จะทำให้เกิดการชาบริเวณขาที่เลี้ยงโดยเส้นประสาทนี้ เป็นต้น
          
๓. การฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง มีวิธีทำได้ ๒ วิธี  คือ ฉีดยาชาที่มีความเข้มข้นปานกลาง เช่น ไลโดเคน ๑.๕%หรือ บิวปิวาเคน ๐.๕-๐.๗๕% เข้าสู่ช่องรอบนอกน้ำไขสันหลัง (epidural block) หรือฉีดยาชาที่มีความเข้มข้นมาก เช่น ไลโดเคน  ๐.๕% ๑-๒ ซี.ซี. เข้าในช่องน้ำไขสันหลัง (subarachnoid block) จุดที่ฉีดยา คือที่ช่องกระดูกสันหลังตรงตำแหน่งที่ต้องการ  โดยวิธีนี้คนไข้จะมีอาการชาที่ขาทั้งสองข้าง ระดับการชาจะสูงขึ้นมาถึงบริเวณหน้าท้อง  สามารถทำการผ่าตัดบริเวณขาและบริเวณหน้าท้องส่วนล่างได้ เช่น การผ่าตัดไส้เลื่อน และการผ่าตัดเอาเด็กออกทางหน้าท้อง เป็นต้น
          
๔. การฉีดยาชาเข้าหลอดเลือดดำเฉพาะที่ (Bier'sblock) จุดที่ฉีดยาคือ หลอดเลือดดำบริเวณหลังมือ หรือหลังเท้า ในขณะที่รัดต้นแขน หรือต้นขาไว้แน่น เพื่อทำให้เกิดอาการชาหมดความรู้สึกเจ็บปวดจนสามารถทำการผ่าตัดที่แขนหรือขาได้

[กลับหัวข้อหลัก]

การฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณเหนือไหปลาร้า


การฝังเข็ม 
          ในปี  พ.ศ. ๒๕๑๓ ได้มีการทำการฝังเข็ม ให้เกิดการชาและสามารถทำผ่าตัดได้ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ทางประเทศไทยได้ศึกษาและทดลองทำการผ่าตัดโดยฝังเข็ม เพื่อทำการผ่าตัดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นต้นมา ในเวลานี้ การฝังเข็มเป็นงานที่ต้องค้นคว้าหาความรู้และความชำนาญอีกมาก การฝังเข็มที่ทำให้เกิดการชาระงับปวดได้นั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสียคือ
          ข้อดี          ๑. เป็นการทำให้ชาที่ปลอดภัย ไม่มีการแพ้ยา ไม่มีการใช้ยาเกินขนาด หรือน้อยไป
          ๒. เป็นวิธีทำง่าย ไม่ซับซ้อน ใช้เครื่องมือน้อย
          ๓. ราคาถูก
          ๔. นำเครื่องมือติดตัวไปในที่ต่างๆ ได้สะดวก

          ข้อเสีย          ๑. บางครั้งการชาเป็นไปไม่ได้ ๑๐๐%
          ๒. การชาในแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน
          ๓. ยังมีการตอบสนอง จุก แน่น เวลาดึงอวัยวะภายใน
          ๔. ไม่มีการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อ


[กลับหัวข้อหลัก]

การฝังเข็มที่บริเวณหัวเข่า


การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาขณะได้รับยาดมสลบ 
          เมื่อผู้ป่วยได้รับยาสลบโดยวิธีสูดดม ยาสลบมีฤทธิ์แทรกซึมผ่านเยื่อบุถุงลมที่ปอดเข้าสู่กระแสโลหิต ส่วนยาสลบที่ให้โดยวิธีฉีดเข้าหลอดเลือดดำก็จะเข้าสู่กระแสโลหิตโดยตรง เมื่อยาสลบไหลเวียนผ่านไปตามกระแสโลหิตก็จะถูกดูดซึมที่อวัยวะต่างๆทั่วทั้งร่างกาย ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ที่ระบบประสาท ยาสลบมีฤทธิ์กดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้หมดสติไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกใดๆ กดศูนย์ควบคุมการหายใจ กดการบีบตัวของหัวใจ และทำให้หลอดเลือดขยายตัว ผลของยาสลบที่กดระบบต่างๆ ในร่างกายจะแปรเปลี่ยนตามความเข้มข้นของยาสลบที่ได้รับสูดดม เมื่อความเข้มข้นของยาสลบในกระแสโลหิตเพิ่มมากขึ้นจะกดการทำงานของระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบการไหลเวียนเลือด และระบบอื่นๆ มากขึ้น การให้ยาสลบ มากเกินไปจะทำให้คนไข้หลับลึกเกินต้องการ หายใจไม่พอหรือ
หยุดหายใจ และความดันเลือดตก แต่ถ้าให้ยาสลบน้อยเกินไป คนไข้จะรู้สึกตัวและตอบสนองต่อความเจ็บปวด

หน้าที่ของวิสัญญีแพทย์และวิสัญญีพยาบาล คือ
          (๑) จะต้องรู้ว่าผู้ป่วยแต่ละรายนั้น ต้องการความเข้มข้นของยาสลบมากน้อยเพียงใด เพื่อให้พอเหมาะกับการผ่าตัดชนิดนั้นๆ
          (๒) ในระหว่างผ่าตัดต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดให้หลับในขนาดที่พอดี
          (๓) ช่วยการหายใจและให้ออกซิเจนให้พอกับความต้องการ
          (๔) รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ และ
          (๕) ทดแทนน้ำและเลือดให้เพียงพอแก่ความต้องการในขณะผ่าตัด ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยที่สุด ในระหว่างที่ได้รับยาสลบอยู่


๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

ผมคงจะไม่สามารถชี้นำว่าคุณควรจะเลือกวิธีใด วิธีหนึ่ง โดยเฉพาะ แต่ผมจะสาธยายกรรมวิธี และข้อดี ข้อเสีย ระหว่าง 2 วิธีนี้ให้คุณทราบ การใช้ยาสลบ ขายยาสลบ

1. การดมยาสลบ หรือ General anesthesia 

โดยวิธีนี้ วิสัญญีแพทย์ จะทำให้ผู้ป่วยสลบ ( สลบ มีระดับที่ลึกกว่า"หลับ" อยู่มากโข เพราะว่า"หลับ"สามารถปลุกได้ แต่"สลบ"จะไม่มีการตอบสนองต่อการเรียก และไม่มีการรับรู้ ไม่มีการฝัน เป็นเสมือนหนังที่ฟิล์มขาด แล้วต่อฟิล์มมาดูใหม่ ) โดยการฉีดยานำสลบเข้าไปในหลอดเลือดดำ จากนั้นจะให้ยาหย่อนกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อทั่วร่างกายเป็นอัมพาต แล้วจะสอดท่อช่วยหายใจ ผ่านปาก เข้าไปผ่านกล่องเสียง และไปอยู่ในหลอดลม เพื่อที่จะช่วยหายใจในระหว่างผ่าตัด เพราะระหว่างผ่าตัดนั้น กล้ามเนื้อทั่วร่างกายจะเป็นอัมพาตจากยาหย่อนกล้ามเนื้อ และร่างกายจะสูญเสียความสามารถในการควบคุมการหายใจ จากผลของยาสลบ

การดมยาสลบนั้นจะอาศัยยาหลายๆตัวช่วยเกื้อหนุนกัน ได้แก่ ยานำสลบ ยาหย่อนกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวด ยาดมสลบในรูปของไอระเหย เมื่อสิ้นสุดการผ่าตัด วิสัญญีแพทย์จะให้ยาแก้ฤทธิ์ยาหย่อนกล้ามเนื้อ และรอคอยให้ยาดมสลบหมดฤทธิ์ ผู้ป่วยจะค่อยๆฟื้นคืนสติ และเริ่มหายใจเอง จากนั้นวิสัญญีแพทย์จะถอดท่อช่วยหายใจออกมาจากหลอดลม

ข้อดีของการวางยาสลบ ก็คือ
1. ผู้ป่วยไม่ต้องรับรู้ต่อเหตุการณ์ต่างๆในห้องผ่าตัด ( เหมือนหนังฟิล์มขาด ฉันใดฉันนั้น )
2. วิสัญญีแพทย์สามารถควบคุมการหายใจ และระบบไหลเวียนได้ จึงเหมาะสมสำหรับการผ่าตัดในช่องท้อง หรือในช่องอก

ข้อเสียของการวางยาสลบ จะมีมากและต้องทำใจยอมรับ เนื่องจากการใช้ยาหลายตัว และกรรมวิธีมากมาย จึงต้องมีผลข้างเคียงในลักษณะที่ต้องยอมรับ( จะเรียกว่าเป็นผลข้างเคียงที่ไม่อาจจะปฏิเสธหรือเลี่ยงได้ก็คงไม่ผิดนัก)  และไม่ถือว่าเป็นอันตราย  เนื่องจากจะหายได้เองในเวลาอันสั้น ได้แก่
1. อาการเจ็บคอ ระคายคอ หรือ เสียงแหบ ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการสอดใส่ท่อช่วยหายใจผ่านเข้าไปในหลอดลม อาการนี้อาจจะพบในบางราย แต่จะไม่นานเกินกว่า 24-48ชม. ก็จะหายไปได้เอง
2. อาการคลื่นไส้ อาเจียน อันเป็นผลโดยตรงจากยาแก้ปวด และยาดมสลบ ซึ่งมักจะมีผลข้างเคียงในเรื่องของการคลื่นไส้อาเจียนอยู่ไม่มากก็น้อย
3. มีความต้องการยาแก้ปวดในช่วงหลังการผ่าตัดสูงกว่าการใช้วิธีฉีดยาชาบล๊อคไขสันหลัง
4. อาจจะมีอาการวิงเวียน มึนงง ในช่วงพักฟื้นหลังการผ่าตัด ซึ่งเกิดจากผลข้างเคียงของยาสลบ
5. มีความเสี่ยงในเรื่องของการสำลักเศษอาหารที่ขย้อนออกมาจากกระเพาะอาหารในระหว่างที่กำลังจะเริ่มดมยาสลบ ทั้งนี้ขึ้นกับว่าผู้ป่วยงดน้ำงดอาหารมานานพอหรือไม่ ในทางปฏิบัติจะต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชม. ก่อนได้รับการวางยาสลบ

-----------------------------------------------------------------------------------

2. การให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ หรือ Regional anesthesia
วิธีที่เหมาะสมสำหรับการผ่าตัดบริเวณขาหรือสะโพก หรือ แม้แต่การผ่าตัดช่องท้องส่วนล่าง เช่นการผ่าคลอด มีกรรมวิธีในการปฏิบัติได้ 2 อย่าง ได้แก่
2.1 Epidural block เป็นการฉีดยาชาเข้าไปช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลัง
2.2 Spinal block เป็นการฉีดยาชาเข้าไปในช่องน้ำไขสันหลัง
โดยทางปฏิบัติแล้ว จะขึ้นกับความชอบของวิสัญญีแพทย์ แต่โดยทั่วไปแล้ว การฉีดยาชาทางช่องน้ำไขสันหลัง หรือ Spinal block จะเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากกว่า เพราะว่าใช้เวลาในการทำสั้นกว่า ออกฤทธิ์เร็วและแน่นอนกว่า

กรรมวิธีในการทำ ก็จะให้ผู้ป่วยนอนตะแคง ก้มหน้าเอาคางชิดออก งอสะโพก งอเข่า เอาเข่าชิดท้อง หลังงอเหมือนกุ้ง เพื่อที่จะให้ช่องระหว่างกระดูกสันหลังเปิดกว้างที่สุด วิสัญญีแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณผิวหนังที่จะฉีดยา เพื่อลดอาการเจ็บในขณะที่ปักเข็มที่จะใช้ทำการblock แต่สำหรับวิสัญญีแพทย์ที่มีความชำนาญบางท่าน อาจจะเลือกที่จะปักเข็มblockไปในทีเดียว เพราะว่าเจ็บเพียงครั้งเดียวเหมือนๆกัน นอกไปจากเข็มที่ใช้ในการบล๊อคจะมีขนาดที่เล็กมาก คือ 25G หรือ บางท่านอาจจะใช้เข็มที่เล็กว่านี้อีก คือ 27G ซึ่งเจ็บน้อยกว่าการแทงน้ำเกลือ หรือ เจาะเลือดด้วยซ้ำไป

ข้อดีของวิธีนี้
1. กล้ามเนื้อของขาจะหย่อนตัวได้ดีกว่าการวางยาสลบ ศัลยแพทย์สามารถผ่าตัดได้สะดวกกว่า
2. ความต้องการยาแก้ปวดในช่วงหลังผ่าตัดจะน้อยกว่าการวางยาสลบอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากระบบประสาทถูกสกัดจากยาชาก่อนที่จะเกิดบาดแผล ผิดกับการวางยาสลบ ซึ่งยาสลบจะไปกดสมองไม่ให้รับรู้ความเจ็บปวด แต่ระบบประสาททั่วร่างกายยังทำงานของมันอยู่ รวมไปถึงระบบประสาทไขสันหลัง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญเกี่ยวกับความเจ็บปวดหลังผ่าตัด
3. หากผู้ป่วยกลัว หรือตื่นตระหนก ก็อาจจะให้ยานอนหลับ ( คนละชนิดกับยาสลบนะครับ )ให้หลับ เพื่อลดความกลัวลงได้

ข้อเสีย
1. หลังผ่าตัดจะขยับขาไม่ได้อยู่ประมาณ 2-4 ชม ( นับจากเริ่มวางยาชา ) ในบางรายอาจจะรู้สึกรำคาญ หรือ เมื่อยขา โดยเฉพาะในช่วงที่ยาชากำลังจะหมดฤทธ์ หรือบางคนอาจจะรู้สึกรำคาญ จากความรู้สึกเหมือนกับขาที่ยังงออยู่ หรือ ยกลอย แต่ไม่สามารถขยับขาได้
2. อาการปัสสาวะไม่ออก ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่มักจะเกิดขึ้นในช่วง 12 ชม.แรก ซึ่งมักจะได้รับการสวนสายปัสสาวะช่วย
3. อาการปวดหลัง หรือ เมื่อยหลัง อาจจะเป็นได้ในช่วงวันแรก  ทั้งนี้เนื่องจากยาชาอาจจะบล๊อคประสาทไขสันหลังในระดับที่สูงขึ้นมา ทำให้กล้ามเนื้อหลังบางส่วนเป็นอัมพาตชั่วคราว ทำให้กระดูกสันหลังถูกทำให้ผิดแนวไปได้เล็กน้อย( เนื่องจากล้ามเนื้อที่คอยพยุง อ่อนแรงลง ) ซึ่งอาการปวดหลังหรือเมื่อยหลังนี้ก็สามารถพบในการวางยาสลบได้เช่นกัน เพราะว่ากล้ามเนื้อหลังทั้งหมดจะเป็นอัมพาตจากยาหย่อนกล้ามเนื้อ ทำให้แนวของกระดูกสันหลังทั้งหมดอาจจะวางแนวผิดไปได้เล็กน้อยเช่นกัน แต่อาการนี้จะไม่เป็นแบบถาวร อีกอย่างหนึ่งมนุษย์เป็นสัตว์ที่ยืนบนขาเพียง 2 ข้าง เป็นสัตว์ยืนหลังตรง มนุษย์จึงมีโรคที่เกิดจากแรงดึงดูดของโลกอยู่อย่างน้อย 2 โรค ( ซึ่งสัตว์ที่ยืน 4 ขา ไม่เคยเป็น ) ได้แก่ ริดสีดวงทวาร และ การปวดหลัง จึงเป็นเรื่องที่คนปกติทั่วๆไปจะปวดหลังได้โดยที่ไม่ต้องถูกบล๊อคหลังมาก่อน

------------------------------------------------------------------------

เอาหละ ที่เหลือก็เป็นเรื่องที่คุณจะต้องเลือกเองแล้วครับว่าคุณจะใช้วิธีใด
สุดท้าย คุณเองก้อมีสิทธิ์จะเป็นผู้เลือกเช่นกันครับ ว่าจะเลือกใช้วิธีไหน ( สิทธิผู้ป่วยครับ ) แต่ถ้าหากให้หมอเป็นผู้เลือก ก็จะเลือกวิธีการบล๊อคไขสันหลัง เนื่องจากเป็นวิธีที่ทำได้ง่ายกว่า และมีระดับความปลอดภัยที่สูงกว่า มีความเสี่ยงต่อการสำลักน้อยกว่า และต้องการดูแลหลังการผ่าตัดในห้องพักฟื้นสั้นกว่า รวมไปถึงผู้ป่วยเองก็ต้องการยาแก้ปวดหลังผ่าตัดน้อยกว่าการวางยาสลบด้วย

สุดท้ายก็คือ คุณต้องเลือกเองนะครับ